ผลคำนวณภาษี
วิธีการคำนวณ

กรอกข้อมูลเพื่อเริ่มคำนวณ

รายได้ทั้งหมด
บาท
บาท

รายการลดหย่อนภาษี
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
ข้อ 11-17 หักลดหย่อนรวมกันไม่เกิน 500,000
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
หักลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
ใส่จำนวนที่จ่ายจริง โปรแกรมจะคูณ 2 เท่า และคำนวณจำนวนลดหย่อนสูงสุดให้ แสดงในผลการคำนวณ
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
บาท
วิธีคิดอัตราภาษีเงินได้แบบขั้นบันได

สูตรการคำนวณหาเงินได้สุทธิ
เงินได้สุทธิ = เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน
สูตรการคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ
ภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี
อัตราภาษีเงินได้
เงินได้สุทธิ อัตราภาษี
ไม่เกิน 150,000 0%
150,001 - 300,000 5%
300,001 - 500,000 10%
500,001 - 750,000 15%
750,001 - 1,000,000 20%
1,000,001 - 2,000,000 25%
2,000,001 - 5,000,000 30%
การหักค่าใช้จ่าย

เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เบี้ยเลี้ยง
หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท หากมีเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 ให้นำเงินได้ทั้ง 2 ประเภท รวมกันแต่หักได้ไม่เกิน 100,000 บาท

การหักลดหย่อน

เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส เบี้ยเลี้ยง :
หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ไม่เกิน 100,000 บาท หากมีเงินได้ประเภทที่ 1 และ 2 ให้นำเงินได้ทั้ง 2 ประเภท รวมกันแต่หักได้ไม่เกิน 100,000 บาท

ค่าลดหย่อนคู่สมรส (ไม่มีเงินได้) :
หักค่าลดหย่อนคู่สมรส ที่จดทะเบียนสมรสตามกฏหมาย และคู่สมรสไม่มีรายได้ ได้ 60,000 บาท

ค่าลดหย่อนบุตร :
บุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม หักค่าลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท ต้องเข้าเงื่อนไข ดังนี้
- บุตรชอบด้วยกฎหมาย หักลดหย่อนได้ไม่จำกัดจำนวน
- บุตรบุญธรรม หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน
- กรณีมีบุตรชอบด้วยกฎหมายที่มีชีวิตอยู่จำนวนตั้งแต่ 3 คน จะนำบุตรบุญธรรมมาหักอีกไม่ได้
- กรณีมีบุตรชอบด้วยกฎหมายมีจำนวนไม่ถึง 3 คน ให้นำบุตรบุญธรรมมาหักได้รวมกับบุตรชอบด้วยกฎหมาย แต่รวมกันต้องไม่เกิน 3 คน

บุตรที่นำมาหักลดหย่อนต้องไม่มีเงินได้ตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป และเข้าหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
- บุตรมีอายุไม่เกิน 25 ปี และกำลังศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยหรืออุดมศึกษา

ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร :
ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่ละคราวไม่เกิน 60,000 บาท

ค่าลดหย่อนบิดามารดา :
บิดามารดามีอายุ 60 ปีขึ้นไป และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ โดยบิดามารดาต้องมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ขอหักลดหย่อนไม่เกิน 30,000 บาท หักค่าลดหย่อน คนละ 30,000 บาทและสามารถหักลดหย่อนสำหรับบิดามารดาของคู่สมรสได้อีกคนละ 30,000 บาท

ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ :
ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ หักค่าลดหย่อน คนละ 60,000 บาท

ค่าเบี้ยประกันชีวิต :
ค่าเบี้ยประกันชีวิต (กรมธรรม์อายุ 10 ปีขึ้นไป) ของผู้มีเงินได้หักค่าลดหย่อนและได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท

ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา :
ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรส หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ทั้งนี้ บิดามารดาของผู้มีเงินได้และคู่สมรสต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เกิน 30,000 บาท

ค่าเบี้ยประกันสุขภาพตนเอง :
หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท แต่เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ต้องไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ สำหรับเบี้ยประกันที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563

ดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัย :
หักค่าลดหย่อนตามจำนวนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ :
เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่ได้จ่ายไปจริงในปีภาษี แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท ซึ่งไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้างให้หัก

ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) :
เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ได้รับยกเว้นเท่าที่จ่ายเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในอัตราไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ ซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และเงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท

ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ :
หักค่าลดหย่อนในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ที่นำมาเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปี แต่ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี

ทั้งนี้ ต้องเป็นค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญเมื่อผู้มีเงินได้อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไปถึงอายุ 85 ปีหรือกว่านั้น

เงินสมทบประกันสังคม :
หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริงเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีนั้น แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) :
หักค่าลดหย่อนเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีนั้น แต่ไม่เกิน 200,000 บาท

กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) :
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และเงินที่ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

เงินที่บริจาคแก่พรรคการเมือง :
เงินบริจาคแก่พรรคการเมือง หักลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท

เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม :
หักลดหย่อนได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

เงินบริจาคทั่วไป :
หักลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น

เงินลงทุนในหุ้นวิสาหกิจเพื่อสังคม :
เงินลงทุนในหุ้น หรือการเป็นหุ้นส่วนเพื่อจัดตั้ง หรือเพิ่มทุนบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับจดทะเบียนวิสาหกิจเพื่อสังคมและได้จดแจ้งการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม หักลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000

ช้อปดีมีคืน :
หักลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท เป็นค่าซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและได้รับใบกำกับภาษี